เมื่อเราจะทำการถ่ายภาพทิวทัศน์ สิ่งก่อสร้าง หรือแม้การถ่ายภาพสินค้าต่างๆ จะมีหลายครั้งที่เราจำเป็นจะต้องต้องใช้ขาตั้งกล้อง เพื่อที่จะให้ภาพที่ถ่ายออกมามีความคมชัดมากที่สุด ไม่มีความสั่นไหวในภาพ โดยเฉพาะเวลาที่อยู่ในพื้นที่ที่มีแสงน้อย ความสว่างไม่เพียงพอ เราจำเป็นจะต้องใช้ชัตเตอร์สปีดที่ต่ำลง ซึ่งการถือกล้องด้วยมือ และถ่ายภาพโดยที่ไม่ให้มีการสั่นไหว ก็จะทำได้ยากยิ่งขึ้น และบทความนี้ลองมาดูวิธีการเลือกขาตั้งกล้องให้เหมาะสมกับตัวเรา และงานของเรากันดีกว่าครับ
Table of Contents
1. ขาตั้งกล้องควรมีความสูงที่เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด
ปกติแล้วเวลาที่เราจะเลือกขาตั้งกล้อง เราอาจจะมองที่การรับน้ำหนักของขาตั้งเป็นอย่างแรก แต่ที่จริงแล้ว เราอาจจะต้องมองเรื่องของความสะดวกในการใช้งานมากที่สุด เพราะถ้าหากว่าขาตั้งกล้องมีการรับน้ำหนักตามที่เราต้องการ แต่ไม่สะดวกในการใช้งาน เราอาจจะรู้สึกไม่อยากใช้ขาตั้งกล้องตัวนั้นก็ได้
มันเป็นเหตุผลที่เราจะต้องเลือกขาตั้งที่ความสูงก่อน เพราะความสูงเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยกำหนดความสะดวกในการใช้งานของเราของเรา ถ้าหากว่าเลือกขาตั้งมาเตี้ยเกินไป เวลาที่เราใช้งานก็จะจำเป็นจะต้องก้มลง อาจจะทำให้เรารู้สึกปวดหลังและปวดคอได้ ถ้าหากว่าสูงเกินไปเราจำเป็นจะต้องคอยปรับระดับขาลงมาเสมอ
ฉะนั้นและเวลาที่เราจะเลือกขาตั้งให้ตรงกับความสูงของเรากรณีที่เราสูง 160 เซนติเมตร เราอาจจะต้องเรียกขาตั้งกล้องที่มีความสูง 150 เซนติเมตรขึ้นไป เมื่อตั้งกล้อง แล้วช่องมองภาพของกล้องก็จะอยู่ในระดับสายตาของเราพอดี หรือถ้าหากว่าเป็นผู้ชายที่สูงประมาณ 170 เซนติเมตร เราก็ควรจะต้องเลือกขาตั้งที่มีความสูงอยู่ในระดับ 160 เซนติเมตร เพื่อให้ช่องมองภาพอยู่ในระดับสายตาเช่นเดียวกัน เมื่อเลือกขาตั้งที่ความสูงในลักษณะแบบนี้ก็จะทำให้เราสามารถใช้ขาตั้งกล้องได้อย่างสะดวกและสบายมากยิ่งขึ้น
อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ แต่ถ้าหากว่าต้องใช้ขาตั้งกล้องบ่อยๆ เราจะรู้สึกได้เลยว่าขาตั้งกล้องที่มีความสูงพอดีกับเรา สามารถทำให้เราทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้นแค่ไหน แถมยังดีต่อสุขภาพและหลังเราด้วยครับ
2. การรับน้ำหนัก
ขาตั้งกล้องที่ดีควรมีการรับน้ำหนักมากกว่าอุปกรณ์กล้องที่เราต้องการจะตั้งบนขาตั้งตัวนั้นอย่างน้อยสองเท่า เหตุผลนี้ก็เพื่อที่จะได้ความมั่นคง ในการตั้งอุปกรณ์บนขาตั้งตัวนั้นอย่างเต็มที่ เพราะถ้าหากว่าเรานำขาตั้งกล้องที่มีการรับน้ำหนักใกล้เคียงกันกับกล้องที่เราจะตั้งลงไป อาจจะมีโอกาสทำให้เกิดความสั่นไหวเวลาถ่ายภาพได้มากกว่า
เช่น หากว่าเรามีกล้องและอุปกรณ์น้ำหนักรวมกันอยู่ที่ประมาณ 2 กิโลกรัม เราควรจะใช้ขาตั้งกล้องที่มีการรับน้ำหนักอย่างน้อย 4 กิโลกรัมขึ้นไป เพื่อที่จะให้ขาตั้งกล้องเราสามารถตั้งกล้องได้อย่างมั่นคง และมั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดความสั่นไหวในภาพ
นอกจากนี้ส่วนมากแล้วสเปคของขาตั้งกล้องจะบอกถึงการรับน้ำหนักในแนวดิ่ง ไม่ได้รวมถึงการรับน้ำหนักในแกนอื่นๆ ในกรณีที่เราต้องการถ่ายภาพในแนวตั้งเราอาจจำเป็นจะต้องปรับตัวขาตั้งกล้องให้อยู่ในทิศทางหักมุม 90 องศา ซึ่งหากว่าหัวขาตั้งกล้อง รับน้ำหนักได้ไม่มาก การตั้งในลักษณะแบบนี้ก็จะทำให้เกิดการสั่นไหวได้ง่ายขึ้น ฉะนั้นเวลาที่เราเลือกขาตั้ง ควรจะเผื่อน้ำหนักในการใช้งานลักษณะอื่นๆไว้ด้วยครับ
3. รูปแบบหัวของขาตั้งกล้อง
ขาตั้งกล้องนั้นมีลักษณะของหัวขาตั้งที่หลากหลาย โดยส่วนมากแล้วหัวที่ใช้งานได้แบบอเนกประสงค์ จะเป็นหัวที่เราเรียกกันว่าหัวบอล ซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนกันกับเวลาที่เราถือกล้องด้วยมือเปล่า สามารถปรับองศาและทิศทางการถ่ายได้หลากหลายและอิสระ ซึ่งหัวบอลเป็นหัวที่นิยมมากที่สุดในการใช้งานร่วมกับขาตั้งกล้อง และเราก็จะเห็นขาตั้งกล้องที่มีขากันอยู่ในท้องตลาดก็จะใช้หัวบอลนี้เป็นหลักด้วยเช่นกัน
แต่ในขณะเดียวกันถ้าหากว่าเราต้องการงานที่ละเอียดมากยิ่งขึ้นอย่างเช่นการถ่ายสิ่งก่อสร้าง งานออกแบบภายใน ถ่ายสินค้า หรือการถ่ายเครื่องประดับชิ้นเล็กๆ เราอาจจำเป็นจะต้องใช้หัวสามทาง หรือหัวเกียร์มาช่วยในการทำงาน
แต่โดยการใช้งานทั่วไป หัวบอลก็เพียงพอต่อการทำงานในทุกรูปแบบแล้ว เพราะค่อนข้างอเนกประสงค์ และปรับเปลี่ยนมุมภาพที่เราต้องการได้ค่อนข้างรวดเร็ว
4. รูปแบบการล็อกของขาตั้งกล้อง
ขาตั้งกล้องที่ขายกันทั่วไปในท้องตลาด จะมีรูปแบบการล็อกที่นิยมกันอยู่สองรูปแบบ อย่างแรกคือการล็อกแบบหมุน หรือที่เรียกกันว่า Twist Lock กับแบบที่สองคือแบบบานพับ ที่เรียกกันว่า Flip lock
Twist Lock หรือว่าการล็อกแบบหมุน ด้วยระบบการล็อกที่เป็นรูปแบบการหมุนเกลียว ตัวคอล็อกจึงมีรูปแบบที่เรียบง่าย ทำให้น้ำหนักเบา ขาตั้งกล้องที่ใช้ Twist Lock เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยว เพราะสามารถล็อคได้ง่าย ไม่ต้องใช้แรงมากในการกางและเก็บ แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของการบำรุงรักษา ถ้าหากว่ามีเม็ดทราย หรือฝุ่นลงเกลียวเข้าไปในเกลียวล็อค ก็อาจจะจำเป็นจะต้องถอดมาล้างบ้างนานๆ ครั้ง
Flip Lock การล็อกแบบบานพับ เป็นรูปแบบการล็อกที่นิยมอีกประเภทหนึ่ง และยังเป็นที่นิยมในหมู่ช่างภาพมืออาชีพทั้งช่างภาพนิ่งและช่างภาพวิดีโอ ด้วยความที่รูปแบบบานพับจะสามารถดูแลรักษาได้ง่าย ถ้าหากว่ามีปัญหาในการล็อก เราสามารถสามารถซ่อมแซมได้ด้วยตัวเอง ด้วยอุปกรณ์ที่มักจะแถมมาให้กับชุดของขาตั้ง แต่ก็แลกมาด้วยน้ำหนักที่มากกว่าการล็อกแบบหมุน จึงทำให้คนที่ซื้อขาตั้งกล้องเพื่อการท่องเที่ยวและใช้งานในแบบอเนกประสงค์ นิยมขาตั้งกล้องในรูปแบบของ Twist Lock มากกว่า
5. วัสดุที่ใช้ในการทำขาตั้งกล้อง
เราเห็นขาตั้งกล้องที่ผลิตผลิตผลิตด้วยวัสดุยอดนิยมอยู่สองประเภท คืออลูมิเนียม และ คาร์บอนไฟเบอร์
ขาตั้งกล้องที่ผลิตโดยวัสดุเป็นอะลูมิเนียมนั้น จะมีความแข็งแรงทนทานด้วยความเป็นโลหะอยู่แล้ว ขาตั้งกล้องที่มีคุณภาพดีจะใช้อะลูมิเนียมที่มีเกรดสูงขึ้นตามไปด้วย มีการรับน้ำหนักที่สูง ทนต่อการตกกระแทก และมีน้ำหนักตัวเพียงพอที่จะช่วยให้เราตั้งกล้องในสถานที่ที่มีลมแรง โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องหาน้ำหนักมาถ่วง แต่น้ำหนักตัวที่มากก็อาจจะถือได้ว่าเป็นข้อจำกัดด้วยเช่นกันเมื่อเทียบกับวัสดุอีกรูปแบบหนึ่ง คือคาร์บอนไฟเบอร์
คาร์บอนไฟเบอร์ เป็นวัสดุอีกประเภทที่นิยมนำมาผลิตสินค้าที่ต้องการความคงทนแข็งแรง แต่มีน้ำหนักเบา คาร์บอนไฟเบอร์ที่นำมาใช้ในการผลิตขาตั้งกล้อง จะถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการรับน้ำหนักที่มาก แต่ให้น้ำหนักตัวที่เบากว่าขาตั้งกล้องที่ผลิตโดยอะลูมิเนียม ขาตั้งกล้องที่ผลิตโดยคาร์บอนไฟเบอร์ จึงเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยว และนักถ่ายภาพที่ต้องการความคล่องตัวในการพกพาขาตั้งกล้องไปใช้งาน
6. ความยาวเวลาที่พับเก็บ
แม้ว่าเราจะหาขาตั้งกล้องได้ในคุณสมบัติที่ตรงใจกับเราแล้ว การพับเก็บยังควรเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราต้องนึกถึง สำหรับช่างภาพที่จำเป็นจะต้องพกขาตั้งไปใช้งานในสถานการณ์ต่างๆ เพราะขนาดในการพับเก็บจะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ทำให้เรา มีความสะดวกมากยิ่งขึ้นในการพกพา ยิ่งขาตั้งกล้องสามารถพับได้สั้นเท่าไหร่ เราสามารถนำขาตั้งกล้องตัวนั้นไปใช้งานต่างสถานที่ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และหากขาตั้งกล้องตัวนั้นมีความสูงที่เหมาะสมกับตัวเรา และพับเก็บได้เล็กมากๆ ก็จะช่วยให้เราตัดสินใจซื้อขาตั้งกล้องตัวนั้นได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่างการเลือกขาตั้งกล้องมาใช้งาน
ถ้าหากคุณคือผู้ชายที่มีความสูง 170 เซนติเมตร มีกล้องและอุปกรณ์ที่ต้องการจัดตั้งน้ำหนักรวมกันประมาณ 3 กิโลกรัม ใช้งานขาตั้งทั้งในบ้าน และนำขาตั้งออกไปท่องเที่ยวถ่ายภาพเก็บวิวทิวทัศน์ต่างๆ รวมถึงบางครั้งก็มีการถ่ายภาพเมืองในเวลากลางคืน
ขาตั้งกล้องคุณควรจะเป็นขาตั้งกล้องที่มีความสูงอย่างน้อย 160 เซนติเมตรหรือใกล้เคียง หัวขาตั้งควรจะเป็นแบบหัวบอล การรับน้ำหนักควรมากเกินกว่า 6 กิโลขึ้นไป ระบบล็อกควรจะเป็นแบบ Twist Lock และผลิตจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ ขาตั้งกล้องตัวนี้ควรจะพับเก็บแล้ว มีขนาดอยู่ที่ประมาณ 40 เซนติเมตร ซึ่งจะช่วยทำให้เราสามารถใส่ขาตั้งตัวนี้เอาไว้ในกระเป๋าสะพายหลังของเราได้ง่ายขึ้น
เมื่อเราสามารถหาขาตั้งกล้องที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานของเรา ทำให้เรารู้สึกสะดวก ไม่รู้สึกลำบากที่จะต้องหยิบขาตั้งกล้องมาใช้งานในแต่ละครั้ง และได้ภาพในแบบที่เราต้องการ เราจะรู้สึกได้เลยว่าการใช้การขาตั้งกล้องช่วยทำให้การถ่ายภาพของเราดีขึ้นได้มากแค่ไหน และไม่แน่นะครับว่าที่ผ่านมา เราอาจจะเลือกขาตั้งกล้องที่อาจจะไม่เหมาะสมกับตัวเรามาตลอดก็ได้ ฉะนั้นแล้ว เราอาจะลองหาลองหาขาตั้งกล้องตัวใหม่ ที่เหมาะสมกับเรามากกว่าเดิมก็ได้นะครับ
และถ้าต้องการสอบถามข้่อมูลสินค้าเกี่ยวกับขาตั้งกล้องเพิ่มเติม สามารถเข้าไปที่ https://www.facebook.com/TheDigitalSTM กันได้อีกช่องทางครับ