ถ่ายภาพอย่างไรให้ออกมาดี? เชื่อว่าหนึ่งในคำตอบนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องของแสงและความสว่างอย่างแน่นอน ซึ่งเทคนิคการจัดแสงให้เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อภาพถ่าย เพราะการตั้งค่าแสงอย่างถูกต้อง ไม่เพียงแต่ช่วยให้ภาพดูสวยงาม แต่ยังช่วยเพิ่มความละเอียดในภาพได้ด้วย เช่น ลักษณะผิวของวัตถุ หรือการสร้าง mood creation
ในบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจและรู้จักกับเทคนิคการใช้แสงในการถ่ายภาพระดับเบื้องต้น เพื่อให้คุณเลือกใช้ไฟได้อย่างเหมาะสมในการถ่ายภาพ พร้อมแล้ว มาเริ่มกันเลย!
1. เข้าใจเรื่องแสงในการถ่ายภาพ
ก่อนที่จะเข้าสู่เทคนิคการจัดแสง เราควรทราบถึงหลักการใช้แสงในการถ่ายภาพก่อนเป็นอันดับแรก
โดยการจัดแสงในการถ่ายภาพที่ดี จะต้องมีการกำหนด Mood & Tone ของภาพตั้งแต่แรก จากนั้นจึงเริ่มคิดแผนการจัดวางวัตถุ และจึงจะสามารถควบคุมและวางแหล่งกำเนิดแสงได้อย่างถูกต้อง
ที่สำคัญต้องรู้จักวัตถุที่ต้องการการถ่ายภาพ ข้อมูลผิวของวัตถุ ความลึก การสะท้อน ด้วยเช่นกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
2. การตั้งค่าแสงแบบ Soft Light ใช้ไฟเพียงดวงเดียว
การตั้งค่าแสงแบบ Soft Light หมายถึงการใช้ไฟสตูดิโอขนาดใหญ่ ให้แสงนุ่ม และต้องไม่มีเงา
คุณสามารถใช้ไฟ cob video light เช่น SmallRig – 3470 RC120D COB Light กับ Reflector เพื่อการกระจายแสงและให้แสงที่เป็นธรรมชาติ โดยสามารถใช้ SmallRig – 3586 RA-D85 Parabolic Softbox เพื่อกระจายแสงให้เป็นมิติสวยงาม
โดยการจัดแสงที่เหมาะสม คือวางไฟไว้ในตำแหน่งซ้ายหรือขวาของวัตถุ ด้านบนให้องศาของแสงอยู่ที่ 45° เพื่อรับแสงตรงหน้า
3. การตั้งค่าแสงแบบ Flat Lighting
การตั้งค่าแสงแบบ Flat Lighting หมายถึงเทคนิคการจัดแสงที่สร้างเอฟเฟ็กต์แสงแฟลตบนตัวแบบโดยมีคอนทราสต์เพียงเล็กน้อยระหว่างไฮไลต์และเงา เหมาะสำหรับการถ่ายภาพ Mood & Tone แบบสวย เซ็กซี่ เช่น ใช้ในการถ่ายภาพโฆษณา รูปพริตตี้
ซึ่งการจัดวางตำแหน่งของไฟให้ได้แสงแบบ Flat เพื่อให้ภาพดูแบนนั้น สามารถวางไฟ cob led video light ทั้งสองข้างของวัตถุ โดยจะต้องมีความสว่าง ระยะ และมุมที่เท่ากัน
4. การตั้งค่าแสงแบบ Butterfly Lighting
Butterfly Lighting หมายถึง เทคนิคการตั้งแสงที่มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ เป็นวิธีการคลาสสิกในการผลิตภาพยนตร์ฮอลลีวูด ซึ่งเทคนิคนี้ช่วยให้อารมณ์ของผู้ถ่ายภาพดูโดดเด่น วิธีการจัดแสงในการถ่ายภาพนี้ให้คอนทราสต์ที่สร้างดวงตาที่ลึกและโครงสร้างใบหน้าที่ชัดเจน
ซึ่งสามารถใช้ COB Light วางไว้ด้านหน้าโมเดล นอกจากนี้ การเพิ่มแฟล็กสีดำในแต่ละด้านของโมเดลเพื่อป้องกันแสงสะท้อน และจะทำให้ใบหน้ามีคอนทราสต์มากขึ้น
ทั้งนี้ คุณยังสามารถเปลี่ยนไฟ COB Light ให้เป็นไฟวงแหวนขนาดใหญ่ได้ โดยลดระดับลงและวางกระดาษแข็งทรงกลมสีดำลงใน Soft Box เพื่อสร้างเอฟเฟกต์แสงแบบวงแหวนให้ดึงดูดสายตา
5. Double-Light Setup
การตั้งค่าแสงแบบ Double-Light เป็นวิธีเบสิคที่ใช้ไฟเพียง 2 ดวง
- Key Light : แสงหลักจะวางอยู่บนตำแหน่งทางด้านซ้ายหรือขวาโดยให้สูง 45° ขึ้น ด้านหน้าโมเดลของคุณ
- Backlight : ใช้ไฟ cob video light อีกดวง เป็นไฟ Backlight ที่ด้านตรงข้ามของไฟหลัก เพื่อเพิ่มแสงสว่าง โดยสามารถเลือกใช้ Bi-Color Cob Video Light เพื่อปรับอุณหภูมิของสี ทำให้ภาพดูมีความละเอียดและสวยงามขึ้น โดยสามารถปรับสีอุณหภูมิได้ตามต้องการ
6. Backlighting
การใช้ไฟ Backlight เป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการสร้างคอนทราสต์ระหว่างตัวแบบและพื้นหลัง ช่วยเพิ่มความลึกให้กับภาพ ในวิธีนี้ ให้คงตำแหน่งไฟหลักไว้ตามเดิม และวางไฟวิดีโออีกดวงไว้ด้านหลังวัตถุโดยตรง การปรับความสว่างของไฟแบ็คไลท์จะทำให้เห็นส่วนที่เป็นไฮไลท์ชัดเจนตามขอบของวัตถุ
แต่อย่างไรก็ตาม อย่าลืมซ่อนหรือปกปิดแหล่งกำเนิดแสงนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ปรากฏในผลงานขั้นสุดท้ายของคุณด้วย
7. Studio Lighting Considerations
ในการตั้งค่าไฟสตูดิโอส่วนใหญ่ ไฟหลัก 2 ดวงมักจะเพียงพอสำหรับการถ่ายภาพที่สวยงาม นอกจากนี้ คุณสามารถใช้แผงไฟ RGB เป็นแหล่งเสริม เพื่อเพิ่มเอฟเฟกต์ เพื่อสร้างสรรค์หรือปรับปรุงงานของคุณได้
สรุป
การเรียนรู้เทคนิคการจัดแสงในการถ่ายภาพให้เชี่ยวชาญนั้น จำเป็นต้องมีการฝึกฝนและทดลองตั้งค่าและหาวิธีการต่างๆ ให้เหมาะสมกับฉากและวัตถุที่ใช้
สิ่งสำคัญคือต้องมีความเข้าใจในการตั้งค่าแสงที่มีความแตกต่างกัน รวมถึงพื้นผิววัตถุ ความลึก บรรยากาศ และอารมณ์ ซึ่งจะช่วยให้คุณสร้างภาพที่สวยงามจับใจผู้ชมได้
ลองนำทั้ง 7 เทคนิคนี้ไปใช้ บวกความคิดสร้างสรรค์ของคุณเข้าไปอีกนิด รับรองว่างานดีขึ้นจริงๆ ค่ะ